ทฤษฎีใหม่

imagesCABCWLY7imagesCALA1FB0

ตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียง
ทฤษฎีใหม่ ทฤษฎีใหม่ คือ ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงที่เด่นชัดที่สุด  ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรินี้  เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่มักประสบปัญหาทั้งภัยธรรมชาติและปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อการทำการเกษตร  ให้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤต โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำได้โดยไม่เดือดร้อนและยากลำบากนัก                    ความเสี่ยงที่เกษตรกร  มักพบเป็นประจำ ประกอบด้วย                   ๑.  ความเสี่ยงด้านราคาสินค้าเกษตร                   ๒. ความเสี่ยงในราคาและการพึ่งพาปัจจัยการผลิตสมัยใหม่จากต่างประเทศ                   ๓. ความเสี่ยงด้านน้ำ ฝนทิ้งช่วง ฝนแล้ง                   ๔. ภัยธรรมชาติอื่นๆ และโรคระบาด                   ๕.  ความเสี่ยงด้านแบบแผนการผลิต – ความเสี่ยงด้านโรคและศัตรูพืช – ความเสี่ยงด้านการขาดแคลนแรงงาน –  ความเสี่ยงด้านหนี้สินและการสูญเสียที่ดิน                   ทฤษฎีใหม่ จึงเป็นแนวทางหรือหลักการในการบริหารการจัดการที่ดินและน้ำ  เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ย้อนกลับด้านบน

ทฤษฎีใหม่

            ความสำคัญของทฤษฎีใหม่                   ๑.  มีการบริหารและจัดแบ่งที่ดินแปลงเล็กออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน  เพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกร ซึ่งไม่เคยมีใครคิดมาก่อน                   ๒.  มีการคำนวณโดยใช้หลักวิชาการเกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จะกักเก็บให้พอเพียงต่อการเพาะปลูกได้อย่างเหมาะสมตลอดปี                   ๓.  มีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบสำหรับเกษตรกรรายย่อย โดยมีถึง ๓ ขั้นตอน
ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น                         ให้แบ่งพื้นที่ออกเป็น  ๔ ส่วน ตามอัตราส่วน ๓๐:๓๐:๓๐:๑๐ ซึ่งหมายถึง                         พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง ประมาณ ๓๐%  ให้ขุดสระเก็บกักน้ำเพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน และใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง  ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำต่างๆ                         พื้นที่ส่วนที่สอง  ประมาณ ๓๐%  ให้ปลูกข้าวในฤดูฝนเพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครอบครัวให้เพียงพอตลอดปี  เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้                         พื้นที่ส่วนที่สาม  ประมาณ ๓๐% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ  เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย                         พื้นที่ส่วนที่สี่  ประมาณ ๑๐% เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทาง และโรงเรือนอื่นๆ             ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง                         เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ปฏิบัติในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว  ก็ต้องเริ่มขั้นที่สอง คือให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูป กลุ่ม หรือ สหกรณ์  ร่วมแรงร่วมใจกันดำเนินการในด้าน                         (๑)  การผลิต (พันธุ์พืช เตรียมดิน ชลประทาน ฯลฯ)                         –  เกษตรกรจะต้องร่วมมือในการผลิต โดยเริ่ม ตั้งแต่ขั้นเตรียมดิน การหาพันธุ์พืช ปุ๋ย  การจัดหาน้ำ และอื่นๆ เพื่อการเพาะปลูก                         (๒)  การตลาด (ลานตากข้าว ยุ้ง เครื่องสีข้าว การจำหน่ายผลผลิต)                         –  เมื่อมีผลผลิตแล้ว จะต้องเตรียมการต่างๆ เพื่อการขายผลผลิตให้ได้ประโยชน์สูงสุด  เช่น การเตรียมลานตากข้าวร่วมกัน การจัดหายุ้งรวบรวมข้าว เตรียมหาเครื่องสีข้าว  ตลอดจนการรวมกันขายผลผลิตให้ได้ราคาดีและลดค่าใช้จ่ายลงด้วย                         (๓)  การเป็นอยู่ (กะปิ น้ำปลา อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ)                         –  ในขณะเดียวกันเกษตรกรต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร  โดยมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น อาหารการกินต่างๆ กะปิ น้ำปลา เสื้อผ้า  ที่พอเพียง                         (๔)  สวัสดิการ (สาธารณสุข เงินกู้)                         –  แต่ละชุมชนควรมีสวัสดิภาพและบริการที่จำเป็น เช่น มีสถานีอนามัยเมื่อยามป่วยไข้  หรือมีกองทุนไว้กู้ยืมเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน                         (๕)  การศึกษา (โรงเรียน ทุนการศึกษา)                         –  ชุมชนควรมีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา เช่น มีกองทุนเพื่อการศึกษาเล่าเรียนให้แก่เยาวชนของชมชนเอง                         (๖)  สังคมและศาสนา                         –  ชุมชนควรเป็นที่รวมในการพัฒนาสังคมและจิตใจ โดยมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยว                         โดยกิจกรรมทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น  จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าส่วนราชการ องค์กรเอกชน  ตลอดจนสมาชิกในชุมชนนั้นเป็นสำคัญ
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม                         เมื่อดำเนินการผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว  เกษตรกร หรือกลุ่มเกษตรกรก็ควรพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่สามต่อไป  คือติดต่อประสานงาน เพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัท  ห้างร้านเอกชน มาช่วยในการลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต                         ทั้งนี้  ทั้งฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคาร หรือบริษัทเอกชนจะได้รับประโยชน์ร่วมกัน กล่าวคือ                         –  เกษตรกรขายข้าวได้ราคาสูง (ไม่ถูกกดราคา)                         –  ธนาคารหรือบริษัทเอกชนสามารถซื้อข้าวบริโภคในราคาต่ำ  (ซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกรและมาสีเอง)                         –  เกษตรกรซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคได้ในราคาต่ำ เพราะรวมกันซื้อเป็นจำนวนมาก  (เป็นร้านสหกรณ์ราคาขายส่ง)                         –  ธนาคารหรือบริษัทเอกชน จะสามารถกระจายบุคลากร เพื่อไปดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ  ให้เกิดผลดียิ่งขึ้น

ใส่ความเห็น